ความรู้เกี่ยวกับภาษีเบื้องต้นสำหรับร้านค้า

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้มีรายได้ทุกคน แกร็บได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับภาษีเบื้องต้นาสำหรับร้านค้าไว้ในบทเรียนนี้แล้ว

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ในกรณีร้านค้าที่ขายบนแพลทฟอร์มแกร็บฯ จัดว่ามี เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว (อ้างอิง https://www.rd.go.th/553.html )

การคิดยอดเงินที่นำมายื่น

ในการขายผ่านแพลทฟอร์ม ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา สรรพากรคิดยอดขายเป็นหลัก ไม่ใช่ยอดโอน เช่น ยอดคำสั่งซื้อ 100 บาท โดนหักค่าบริการ 31.20. บาท ร้านค้าได้เงินสุทธิ 67.90 บาท จะต้องรายงานที่ยอด 100 บาท

ในการหักค่าใช้จ่าย มี 2 แบบ

  1. หักตามจริง ถ้าร้านค้าหักตามจริง จะต้องจัดเตรียมบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ครบถ้วนและสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้
  2. หักแบบเหมา (ร้อยละ 60) ต่อยอดการยื่น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?

ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

หากร้านค้ามีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี จะต้องคำนวณตามอัตราภาษีขั้นบันไดดังตารางด้านล่าง และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยต้องยื่นชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

ในกรณีที่ร้านค้ามีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ทางร้านค้าไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องยื่นภาษีเพื่อให้กรมสรรพากรบันทึกประวัติรายได้

⚠ กรณีที่ยอดขายแตะ 1.8 ล้านบาท

ร้านค้าจะต้องทำการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด VAT โดยสามารถทำได้ทั้งแบบบุคคลและบริษัท และสามารถนำเอกสารใบกำกับภาษีที่ได้รับจากแพลทฟอร์มมาตรวจสอบและหักค่าใช้จ่ายได้

ข้อกำหนดและนโยบายPrivacy Notice
© Grab 2010 - 2025